วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

แนวข้อสอบ PAT 2 ปี 2553 ชุดที่ 1



 1.

            พืชที่มีใบขนาดเล็ก เพื่อลดการคายน้ำ คือ พืชประเภทที่อยู่

2.

  • ในคนอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตถูกย่อยในอวัยวะใดเป็นครั้งแรก


3.

        หมายเลขใดเป็นสิ่งขับถ่ายของสัตว์ที่ถูกย่อยสลายโดย Aspergillus และ Neurospora



หมายเลขใดเป็นสิ่งขับถ่ายของสัตว์ที่ถูกย่อยสลายโดย Aspergillus และ Neurospora
4.

หมายเลขใดเป็นกระบวนการทำงานของแบคทีเรียพวก Thiobacillus



หมายเลขใดเป็นกระบวนการทำงานของแบคทีเรียพวก Thiobacillus

อ่านต่อ

ข้อสอบ O-Net วิทยาศาสตร์ปีการศึกษา 2552

ข้อ 1)เซลล์ที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ :
ดีเอ็นเอ ไรโบโซม เยื่อหุ้มเซลล์ เอนไซม์ และ ไมโทคอนเดรีย เป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในข้อใด (O-net 52)
      1. แบคทีเรีย
      2. พืชเท่านั้น
      3. สัตว์เท่านั้น
      4. อาจเป็นได้ทั้งพืชหรือสัตว์
คำตอบข้อ 1 ) ตอบข้อ 4 อาจเป็นได้ทั้งพืชหรือสัตว์
เหตุผล เซลล์ดังกล่าวพบไมโทคอนเดรียแสดงว่าเป็นเซลล์ยูคาริโอต 
แต่แบคทีเรียมีเซลล์แบบโพรคาริโอตดังนั้นเซลล์ในข้อนี้จึงเป็นได้ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
ข้อ 2) กระบวนการใดไม่พบในกระบวนการดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไต (O-net 52)
       1. การแพร่
       2. ออสโมซิส
       3. เอนโดไซโทซิส
       4. การลำเลียงแบบใช้พลังงาน
คำตอบข้อ 2 ) ตอบ ข้อ 4 การลำเลียงแบบใช้พลังงาน
เหตุผล
      กระบวนการทั้ง 4 พบได้ในการดูดกลับสารที่ท่อหน่วยไต แต่โจทย์ในข้อนี้ถามเกี่ยวกับ
 การดูดกลับน้ำ  ซึ่งดูดกลับโดยอาศัยกระบวนการแพร่ แบบออสโมซีส 
นอกจากนี้ที่ท่อหน่วยไตยังมีการนำสารเข้าสู่เซลล์แบบพิโนไซโทซีส (Pinocytosis) 
หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การดื่มของเซลล์ (Cell drinking) โดยเซลล์จะได้รับน้ำเข้าไปด้วย 
ซึ่งการเกิดพิโนไซโทซีส จัดเป็น เอนโดไซโทซีส ชนิดหนึ่ง  
ดังนั้นการดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตจึงไม่พบการลำเลียงแบบใช้พลังงาน
ข้อ 3) เหตุใดผู้ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จึงมักปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (O-net 52)
       1. ไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
       2.  การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง
       3.  แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อร่างกาย จึงถูกกำจัดทิ้งอย่างรวดเร็ว
       4. ร่างกายควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ได้
คำตอบข้อ 3 ) ตอบ ข้อ 2 การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง
เหตุผล
   ฮอร์โมนวาโซเปรสซิน(Vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก (Antidiuretic) หรือ ADH 
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก neuroscretory cell ของไฮโพทาลามัส แล้วเก็บไว้ที่ ต่อมใต้สมองส่วนท้าย 
โดย ADH ทำหน้าที่ ดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตเพื่อลดแรงดันออสโมติกในกระแสเลือด
 (เมื่อร่างกายต้องการน้ำ)  โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกและ สารเคมี บางชนิด มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน
 ADH เช่น ความเย็น  สารคาเฟอีนในชา  กาแฟ และ แอลกอฮอล์ เป็นต้น 
ดังนั้นสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลงอ่านต่อ
                                รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บทที่3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบ 2 และ 3 
              สารประกอบดลอไรด์
คุณสมบัติ
สารประกอบคลอไรด์ของโลหะ
สารประกอบคลอไรด์ของอโลหะ
จุดเดือด
สูง
ต่ำ
จุดหลอมเหลว
สูง
ต่ำ
ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
กลาง 
ยกเว้น
BeClและ NaClซึ่งป็นกรด
กรด
สารที่ไม่ละลายน้ำ
 CCl4  NCl5
-

สมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุในคาบ 2 และ 3
               สารประกอบออกไซด์
คุณสมบัติ
สารประกอบออกไซด์ของโลหะ
สารประกอบออกไซด์ของอโลหะ
จุดเดือด
สูง
ต่ำ
จุดหลอมเหลว
สูง
ต่ำ
ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
เบส
กรด
สารที่ไม่ละลายน้ำ
 BeO  Al3O3
SiO2

สมบัติของธาตุแต่ละหมู่

ธาตุหมู่ โลหะอัลคาไลน์ 1. มีเวเลนส์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 2. มีเลขออกซิเดชัน +1


3. ทำปฏิกิริยาได้ดีมาก จึงไม่พบโลหะหมู่ ในธรรมชาติ แต่จะพบในสารประกอบ สารประกอบทุกตัวเป็นพันธะไอออนิก 4. สารประกอบของโลหะหมู่ ละลายน้ำได้ทุกตัว5. ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ  ได้ด้างและแก๊ส H2
6. ความหนาแน่นต่ำ ลอยน้ำได้ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ไม่สูงนัก  ธาตุหมู่ II โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท
1. มีเวเลนส์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 2. มีเลขออกซิเดชัน +2
3.ทำปฏิกิริยาได้ดี พบโลหะหมู่ II ในธรรมชาติและพบในรูปสารประกอบ สารประกอบส่วนใหญ่เป็นพันธะไอออนิก ยกเว้น Be
4. สารประกอบของโลหะหมู่ II ส่วนใหญ่ ละลายน้ำได้ดี แต่จะไม่ละลายน้ำถ้าเป็นสารประกอบของ CO32-    SO42-    PO43- ยกเว้น MgSO4
5. ทำปฏิกิริยากับน้ำ  ได้ด่างและแก๊ส Hอ่านต่อ

บทที่ 2 พันธะเคมี



    พันธะเคมี  คือ  แรงยึดเหนี่ยวทีอยู่ระหว่างอะตอมซึ่งทำให้อะตอมต่าง ๆ เข้ามาอยู่รวมกันเป็นโมเลกุลได้  การสร้างพันธะเคมีของอะตอมเกิดขึ้นได้  เนื่องจากอะตอมต้องการจะปรับตัวให้ตนเองมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8  หรือให้ใกล้เคียงกับการครบ ให้มากที่สุด  (ตามกฎออกเตต)  ดังนั้นจึงต้องอาศัยอะตอมอื่น ๆ มาเป็นตัวช่วยให้อิเล็กตรอนเข้ามาเสริม  หรือเป็นตัวรับเอาอิเล็กตรอนออกไป  และจากความพยายามในการปรับตัวของอะตอมเช่นนี้เองที่ทำให้อะตอมมีการสร้างพันธะเคมีกับอะตอมอื่น ๆ
          
          การสร้างพันธะเคมีของอะตอมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ  โดยในแต่ละลักษณะจะมีสมบัติและความแข็งแรงของพันธะเคมีชนิดใดต่อกันนั้น  จะขึ้นอยู่กับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนและสมบัติของแต่ละอะตอมที่เข้ามาสร้างพันธะเคมีต่อกันเป็นสำคัญ  โดยเราสามารถจำแนกพันธะเคมีได้เป็น ชนิด  คือ  พันธะโคเวเลนต์  พันธะไอออนิก  และพันธะโลหะอ่านต่อ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เคมีบทที่2 ม.4

วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 1 อะตอมและตารางธาตุ

แบบจำลองอะตอมของดาลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์ และแบบกลุ่มหมอก


โครงสร้างอะตอม

นักปราชญ์ชาวกรีกชื่อดิโมคริตุส (Demokritos) ได้ให้แนวคิดไว้ว่า หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของสารคือ อะตอม ซึ่งเป็นอนุภาคที่ไม่สามารถแบ่งให้เล็กลงไปได้อีก
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอะตอมและแปลผลจากข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำมาสร้างเป็นมโนภาพหรือแบบจำลอง ซึ่งมีการพัฒนาตามลำดับดังนี้
1.1แบบจำลองอะตอมของดาลตัน
   จอห์นดาลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมวลของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบหนึ่ง ๆ
 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 
1. ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ หลายอนุภาค  อนุภาคเหล่านี้เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้
2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน เช่น มีมวลเท่ากัน แต่จะมีสมบัติแตกต่างจากอะตอมของธาตุอื่น
3. สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดทำปฏิกิริยาเคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อย ๆอ่านต่อ