วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบ O-Net วิทยาศาสตร์ปีการศึกษา 2552

ข้อ 1)เซลล์ที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ :
ดีเอ็นเอ ไรโบโซม เยื่อหุ้มเซลล์ เอนไซม์ และ ไมโทคอนเดรีย เป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในข้อใด (O-net 52)
      1. แบคทีเรีย
      2. พืชเท่านั้น
      3. สัตว์เท่านั้น
      4. อาจเป็นได้ทั้งพืชหรือสัตว์
คำตอบข้อ 1 ) ตอบข้อ 4 อาจเป็นได้ทั้งพืชหรือสัตว์
เหตุผล เซลล์ดังกล่าวพบไมโทคอนเดรียแสดงว่าเป็นเซลล์ยูคาริโอต 
แต่แบคทีเรียมีเซลล์แบบโพรคาริโอตดังนั้นเซลล์ในข้อนี้จึงเป็นได้ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
ข้อ 2) กระบวนการใดไม่พบในกระบวนการดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไต (O-net 52)
       1. การแพร่
       2. ออสโมซิส
       3. เอนโดไซโทซิส
       4. การลำเลียงแบบใช้พลังงาน
คำตอบข้อ 2 ) ตอบ ข้อ 4 การลำเลียงแบบใช้พลังงาน
เหตุผล
      กระบวนการทั้ง 4 พบได้ในการดูดกลับสารที่ท่อหน่วยไต แต่โจทย์ในข้อนี้ถามเกี่ยวกับ
 การดูดกลับน้ำ  ซึ่งดูดกลับโดยอาศัยกระบวนการแพร่ แบบออสโมซีส 
นอกจากนี้ที่ท่อหน่วยไตยังมีการนำสารเข้าสู่เซลล์แบบพิโนไซโทซีส (Pinocytosis) 
หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การดื่มของเซลล์ (Cell drinking) โดยเซลล์จะได้รับน้ำเข้าไปด้วย 
ซึ่งการเกิดพิโนไซโทซีส จัดเป็น เอนโดไซโทซีส ชนิดหนึ่ง  
ดังนั้นการดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตจึงไม่พบการลำเลียงแบบใช้พลังงาน
ข้อ 3) เหตุใดผู้ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์จึงมักปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (O-net 52)
       1. ไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
       2.  การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง
       3.  แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อร่างกาย จึงถูกกำจัดทิ้งอย่างรวดเร็ว
       4. ร่างกายควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่ได้
คำตอบข้อ 3 ) ตอบ ข้อ 2 การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลง
เหตุผล
   ฮอร์โมนวาโซเปรสซิน(Vasopressin) หรือ แอนติไดยูเรติก (Antidiuretic) หรือ ADH 
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก neuroscretory cell ของไฮโพทาลามัส แล้วเก็บไว้ที่ ต่อมใต้สมองส่วนท้าย 
โดย ADH ทำหน้าที่ ดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตเพื่อลดแรงดันออสโมติกในกระแสเลือด
 (เมื่อร่างกายต้องการน้ำ)  โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกและ สารเคมี บางชนิด มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน
 ADH เช่น ความเย็น  สารคาเฟอีนในชา  กาแฟ และ แอลกอฮอล์ เป็นต้น 
ดังนั้นสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การหลั่งฮอร์โมนวาโซเปรสซินลดลงอ่านต่อ
                                รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น